วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

เมื่อดิฉันได้เรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพแล้วทำให้รู้จักการตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัยแต่งกายให้สุภาพตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยวางไว้และในการเรียนแต่ละครั้งก็จะมีการทำกิจกรรมของแขนงต่างๆทำให้ดิฉันได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นและได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงจากการที่แต่ละแขนงได้เชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อต่างๆและได้รับประโยชน์มากมายที่สำคัญเป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เช่น การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาไทย ได้ฝึกการเขียนลายมือ และการร่วมกลุ่มการทำงานเป็นทีม

ในวันปัจฉิมนิเทศ อาจารย์ได้นิมนต์พระอาจารย์มาให้ความรู้คำแนะนำที่ดีในการออกไปสู่โลกกว้างการอยู่ร่วมกันในคนหมู่มาก
พระอาจารย์สมพงษ์ เป็นหนึ่งในคณะ ธรรมะเดลิเวอร์รี่ท่านได้ให้ข้อคิดหลายอย่างดังนี้
1.อย่าประมาทกับสิ่งเล็กๆน้อยๆ
2.หากเราคิดว่าเราทำได้ เราทำได้
3.หากเราคิดว่าเรามีความสุข เรามีความสุข
4.ชีวิตที่มีค่าคือการทำให้ชีวิตเรามีค่าและทำให้ชีวิตคนอื่นมีค่า
5.โลกมีไว้ให้เหยีบยไม่ได้มีไว้ให้แบก
6.อย่าย้อมแพ้อะไรง่าย ๆ ทุกอย่างมีทางออก
ดิฉันจะนำเอาความรู้ประโยชน์ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและเป็นคนดีของสังคม
ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ทุกท่านที่ให้ความรู้มาโดยตลอดค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สรุปสาระในการเรียนรู้ครั้งที่5

เรื่อง Strack
สแตก(Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่า การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก
จะกระทำที่ ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ของสแตก (TopOf Stack) และ ลักษณะที่สำคัญของสแตก
การดำเนินงานพื้นฐานของสแตก
การทำงานต่าง ๆ ของสแตกจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งของ สแตกเท่านั้น ดังนั้นจะต้องมีตัวชี้ตำแหน่งข้อมูลบนสุดของสแตกด้วย
การทำงานของสแตกจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ
1.Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก
2. Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก
3. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากสแตก
ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์Postfix
1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ จะนำค่าลำดับความสำคัญของตัว ดำเนินการที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่
บนสุดของสแตก
4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตกนำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ popวงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5. เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infixหมดแล้ว ให้ทำการ Pop ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์Postfix

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สรุปสาระในการเรียนรู้ครั้งที่4

เรื่อง Linked Listลิงค์ลิสต์ (Linked List)
เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อโครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์ (Head)
2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไปกระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน1. กระบวนงาน Create List
2. กระบวนงาน Insert Node
3. กระบวนงาน Delete Node
4. กระบวนงาน Search list
5. กระบวนงาน Traverse
6. กระบวนงาน Retrieve Node
7. ฟังก์ชั่น EmptyList
8. ฟังก์ชั่น FullList
9. ฟังก์ชั่น list count
10. กระบวนงาน destroy list

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Set and String (ครั้งที่ 3)

โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต คือ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน ในภาษาซี แต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators)
ประกอบด้วย
- set intersection
- set union
- set difference (ความแตกต่าง)
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่างสติง สตริง (String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง
การกำหนดสตริง
เราทำได้หลายแบบ ดังนี้
1.กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว คือ กำหนดได้ทั้งนอกและในฟังก์ชั่นกำหนดไว้นอกฟังก์ชัน ชื่อค่าคงตัวจะเป็นพอยเตอร์ชี้ไปยังหน่วยความจำที่เก็บสตริงนั้น เมื่อกำหนดไว้ในฟังก์ชัน จะเป็นพอยเตอร์ไปยังหน่วยความจำที่เก็บตัวมันเอง
2.กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์การกำหนดค่าตัวแปรสตริงให้แก่ตัวแปรพอยเตอร์และอเรย์ คือ สามารถกำหนดค่าคงตัวสตริงให้พอยเตอร์หรืออเรย์ได้ในฐานะค่าเริ่มต้น
การกำหนดตัวแปรสตริง คือ ในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์ เพราะ สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0) และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะอะเรย์ของสตริง คือ ถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียนโปรแกรมได้สะดวก การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปร

การดำเนินการเกี่ยวกับสตริง
ในการดำเนินการเกี่ยวกับสตริง จะมีฟังก์ชันที่อยู่ในแฟ้ม ข้อมูล stdio.h เก็บอยู่ใน C Library อยู่แล้วสามารถนำมาใช้ได้ โดยการใช้คำสั่ง #include ในการเรียกใช้ เช่น
- ฟังก์ชัน strlen(str) ใช้หาความยาวของสตริง
- ฟังก์ชัน strcpy (str1,str2) ใช้คัดลอกข้อมูลจาก string หนึ่งไปยังอีก string หนึ่ง
- ฟังก์ชัน strcat(str1,str2) ใช้เชื่อมต่อข้อความ 2 ข้อความเข้าด้วยกัน

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปเรื่อง Array and Record ครั้งที่2

เรื่อง อะเรย์ 1 มิติ และอาเรย์ 2มิติ
อเรย์หนึ่งมิติ
หมายถึง คอมพิวเตอร์จะจองเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับตัวแปร a ให้เป็นตัวแปรชุดชนิด character ขนาด สมาชิก 4 สมาชิก โดยหน่วย ความจำจะเตรียมเนื้อที่ให้ 1 byte สำหรับ 1 ชื่อตัวแปร
การส่งอะเรย์ให้ฟังก์ชัน

สามารถกำหนดอะเรย์เป็นพารามิเตอร์ส่ง
ให้กับฟังก์ชันได้ 2 ลักษณะ คือ
1.การกำหนด array element เป็น
พารามิเตอร์ส่งค่าให้กับ
2.ส่งอะเรย์ทั้งชุดให้ฟังก์ชัน
การประกาศอาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชันอาเรย์
สามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี
1. มีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า
2. ไมม่ต้องมีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า
3. ตัวแปรที่ทำหน้าที่รับค่าถูกกำหนดเป็นพอยน์เตอร์
อเรย์สองมิติ หมายถึง หมายถึง คอมพิวเตอร์จะจองเนื้อที่ใน หน่วยความจำ จำนวน 6 ที่ สำหรับตัวแปร a
การผ่าน structure ให้ฟังก์ชัน
ประเภทของการส่งผ่าน structure
ให้ฟังก์ชันนั้น มี 2 ประเภท คือ
1. ส่งสมาชิกแต่ละตัวของ structure
2. ส่งทั้ง structure

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สรุปสาระในการเรียนรู้ครั้งที่1

โครงสร้างข้อมูล เกิดจาก “โครงสร้าง” และ “ข้อมูล” เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ดังนั้นโครงสร้างข้อมูลจึงหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้นๆและลักษณะการจัดแบ่งพิกัดต่าง ๆ ของข้อมูลสำหรับแต่ละระเบียน (Record) ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรับไปประมวลผลได้
ประเภทของโครงสร้างข้อมูล

จะแบ่งได้ 2ประเภทคือ
1. โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ เป็นโครงสร้างที่ใช้โดยทั่วไปในภาษาคอมพิวเตอร์
2. โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ เป็นโครงสร้างที่ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการจินตนาการของผู้ใช้ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในโปรแกรมที่สร้างขึ้น
ส่วนการแทนที่ในหน่วยความจำหลัก

มี 2 วิธีคือ
1.การแทนที่ข้อมูลแบบ สแตติก คือ เป็นการแทนที่ข้อมูลที่มีการจองเนื้อที่แบบคงที่แน่นอนและต้องมีการกำหนดขนาดก่อนการใช้งาน และมีข้อเสียคือไม่ลดหรือเพิ่มขนาดได้
2.การแทนที่ข้อมูลแบบ ไดนามิก คือ เป็นการแทนที่ข้อมูลที่ไม่ต้องจองพื้นที่ ขนาดของเนื้อที่ยืดหยุ่นได้ และโครงสร้างข้อมูลที่มีการแทนที่หน่วยความจำหลักแบบไดนามิก คือ ตัวชี้ หรือพอยเตอร์
และขั้นตอนที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความถูกต้อง
2. ง่ายต่อการทำงาน
3. ใช้เวลาทำงานน้อย
4. มีความยืดหยุ่นในการทำงาน

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02-23/06/2552

#include< stdio.h >
#include< string.h >
void main()
{
struct beverage{
char name[80];
char brand[60];
char taste[80];
char content[60];
int price;
int day;
char month[60];
int year;

};
struct beverage milk;
strcpy(milk .name,"milk");
strcpy(milk .brand,"formost");
strcpy(milk .taste,"insipid");
strcpy(milk .content,"180 millitre");
milk.price=10;
milk.day=19;
strcpy(milk.month,"June");
milk.year=2010;

printf("==========milk==========\n\n");
printf("Name: %s\n",milk.name);
printf("Brand: %s\n",milk.brand);
printf("taste: %s\n",milk.taste);
printf("content: %s\n",milk.content);
printf("Price: %d\n",milk.price);
printf("expire: %d %s %d\n",milk.day,milk.month,milk.year);
}

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ


ชื่อ นางสาวอรวรรณ ผิวผ่อง ชื่อเล่น ใหม่
รหัส50132792056
Miss. Orawan Phiwphong
หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
e-mail: u50132792056@gmail.com